วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

พิธีกรรมบูชาพระเสาร์ ปี ๒๕๖๓

 

                         พระคาถาบูชาพระเสาร์




... พระคาถาบูชาพระเสาร์ ...

ในวันที่ ๕ ธ.ค.๒๕๖๓ เวลา ๐๘.๔๒ น. ดาวเสาร์จะย้ายจากราศีธนูมาสถิตอยู่ที่ราศีมังกร เรือนกัมมะของลัคนาโลก ดาว ๗ หลังจากพักตร์ไป ในวันที่ ๑๔ พ.. ๒๕๖๓ และเดินพักถอยหลังไปเรื่อยจนถึงวันที่ ๑๒ ก..๒๕๖๓ เวลา ๒๒.๐๗ น. ก็ย้ายถอยมาอยู่ราศีธนูอีกครั้ง กว่าจะเริ่มเดินเป็นปกติก็ปาเข้าไปวันที่ ๑๗ ก.. ๒๕๖๓ แล้วกว่าจะย้ายเรือนไปราศีมังกรก็ต้องเป็นวันที่ ๕ ธ..๒๕๖๓ เวลา ๐๘.๔๒ น.นั่นแหละถึงจะลงตัว พ่อคุณทูนหัว สาธุ

 ดาวเสาร์จะอยู่ที่ราศีละ ๒ ปีครึ่ง โดยประมาณ 

[ ถ้าไม่พักไม่ถอยหลัง ] ...

... ในทุกวันเสาร์ ตลอด ๒ ปีครึ่ง เราสามารถไหว้พระเสาร์ได้ ในเวลา ๖.๐๐ น. ถึง ๗.๓๐ น.และในเวลา ๑๖.๓๐ น ถึง ๑๙.๓๐ น. 

[ ในเวลาดังกล่าวล้วนเป็น ยามพระเสาร์ทั้งสิ้น ] ...

... ทุกคนสามารถทำได้ด้วยตัวเองดังนี้ ...
... อันดับแรกจัดตั้งพระพุทธรูปปางนาคปรก ตั้งหันหน้าพระไปทางทิศเหนือ ...

๑. ตัวเราหันหน้าไปทางทิศใต้ ...

[ ปีนี้ วันที่ ๕ ธ.. พ.ศ. ๒๕๖๓ พระเสาร์จรมาสถิตที่ราศีมังกร - ทิศใต้ เวลา ๐๘.๔๒ น. ] ...
๒. เอาเทียนดำเล่มเล็กๆไปปักโดยรอบ ที่ถาด ... วงกลม ๑๐ เล่ม ...
๓. จุดธูป ๑๐ ดอก [ กำลังส่งพระเสาร์ ] ...
๔. ผลไม้หรือขนมสีม่วงหรือดำ ๗ อย่าง เช่น องุ่น ลิ้นจี่ เฉาก๊วย ฯ [ คล้ายๆ กับพระราหู ] ...
. เตรียมดอกอัญชัญ หรือดอกกล้วยไม้
... หลังจากนั้นก็ดูตามทิศ และตามเวลาที่ได้ระบุไว้ ... ลงมือ ... นะโม ๓ จบ เริ่มสวดพระคาถาบูชาพระเสาร์ ...

 

                     ... คาถาบูชาพระเสาร์ ...

 

ไหว้แบบไทย สามารถทำตามเคล็ดวิชาการบูชาของไทยโบราณได้ ...
คือ ถ้าบูชาประจำวันปกติใช้ธูป ๓ หรือ ๗ ดอก
หากบวงสรวง ขอพรในกรณีพิเศษ ฤกษ์ที่ดีที่สุดคือวันเสาร์ ให้ใช้ธูป ๑๐ ดอก [ ตามกำลังเทพนพเคราะห์ ]

บูชาพระเสาร์ ด้วย คาถานารายณ์ขว้างจักรตรึงไตรภพ
โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ
สวดตามกำลังเทพพระเสาร์ คือ ๑๐ จบ
[ บทสวดนี้ได้มาจากบทสรรเสริญพระพุทธคุณ เรียกว่า พระคาถาอิติปิโสแปดทิศ ]

บทสวดบูชาพระเสาร์


อิติปิโส ภะคะวา พระเสาร์จะมัสมิง
จะ พุทธะคุณัง จะ ธัมมะคุณัง จะ สังฆะคุณัง
สัพพะทุกขัง สัพพะภะยัง สัพพะโรคัง วิวัชชะเย
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม




                  ... พระประจำวันเสาร์ ...

 

                           ยะโตหัง ภะคินี อะริยายะ ชาติยา ชาโต
                           นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง
                           ชีวิตา โวโรเปตา เตนะ สัจเจนะ
                           โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะฯ

 

 

                                 



... อธิษฐานจิต ขอพรตามใจปรารถนา ...


... พอธูปดับสนิท ก็ดับเทียนได้เพื่อจะได้ใช้ในวันเสาร์ต่อไปได้อีก ... วันเสาร์ครั้งต่อไป ... ก็ไม่ต้องมีผลไม้ก็ได้ ส่วนเทียนนั้นก็ใช้ของเก่าที่เหลือได้ จุดใหม่แต่ธูปแต่อย่างเดียว ...


                                        



            ... เป็นอันว่าจบพิธีการแต่เพียงเท่านี้นะครับ ...

... อ.ธนเทพ ปฏิพิมพาคม ...


 

 


วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

พิธีกรรมบูชาพระพฤหัสบดีปี ๒๕๖๓

                   

             พระคาถาบูชาพระพฤหัสบดี




... ในวันที่ ๑๓ พ.ย.๒๕๖๓ เวลา ๐๒.๕๐ น. ดาวพฤหัสจะย้ายราศีมาสถิตอยู่ที่ราศีมังกร เรือนกัมมะของลัคนาโลก ดังเดิม ...

... ดาวพฤหัสบดีจะอยู่ที่ราศีมังกร ๑ ปีโดยประมาณ [ ถ้าไม่พักผ่อน หรือ ถอยหลัง ซัก ๕ - ๖ เดือน ... เป็นประจำ บ่อยๆ ] ... แต่ที่ผ่านมาเที่ยวนี้เดินเร็วมากเพราะใช้เวลาอยู่ราศีธนู เมื่อ ๓๐ ต.ค.๒๕๖๒ เวลา ๒๐.๔๒ น. แค่ ๕ เดือนเศษพอถึง ๑๗ มี.ค.๒๕๖๓ เวลา ๒๐.๕๕ น. ดาว ๕  ก็จะย้ายเรือนไปอยู่ราศีมังกร

... [ เสริด – เดินเร็ว ] ...

... เรือนกัมมะของลัคนาโลก ...   

แต่พอถึง วันที่ ๒๐ พ.ค.๒๕๖๓ ดาวพฤหัสบดีก็เริ่มเดินพักผ่อนอีก พักไปจนถึง วันที่ ๑๗ ก.ค.๒๕๖๓ เวลา ๑๘.๕๔ น.ก็จะถอยหลังไปที่ราศีธนูอีกพอถึงวันที่ ๒๑ ก.ย.๒๕๖๓ ถึงได้กลับมาเดินเป็นปกติ เดินไปเรื่อยจนพอถึงวันที่ ๑๓ พ.ย.๒๕๖๓ จึงย้ายไปอยู่ราศีมังกรเรือนกัมมะของลัคนาโลกอีกวาระนึง ...

 

... นี่ละเป็นนิสัยที่แท้จริงของดาวพฤหัสบดีจอมโลเล พักรบทุกปี ปีไหน ดาวพฤหัสบดีไม่พัก ...ไม่ถอย พวกเราก้อต้อง ... สาธุโนภันเต ... กันซักหน่อย ... ละครับท่าน ...ปีหน้าค่อยว่ากันใหม่ ...

 

... ในทุกวันพฤหัส ตลอด ๑ ปี เราสามารถไหว้พระพฤหัสบดีได้ ในเวลา ๖.๐๐ น. ถึง ๗.๓๐ น.และในเวลา ๑๖.๓๐ น ถึง ๑๙.๓๐ น. และ ๐๔.๓๐ ถึง ๖.๐๐ น. [ เวลาดังกล่าวล้วนเป็นยามพระพฤหัสบดี ทั้งสิ้น ] ...




 ... ทุกคนสามารถทำได้ด้วยตัวเองดังนี้ ...

... อันดับแรกจัดตั้งพระพุทธรูปปางสมาธิ ตั้งหันหน้าพระไปทางทิศเหนือ ...

๑. ตัวเราหันหน้าไปทางทิศใต้ 

... [ ปีนี้ วันที่ ๑๓ พ.ย.พ.ศ. ๒๕๖๓ พระพฤหัสบดีจรมาสถิตที่ราศีมังกร  -- ทิศใต้ ] ...

๒. เอาเทียนเหลืองเล่มเล็กๆไปปักโดยรอบ ที่ถาด ... วงกลม ๑๙ เล่ม ...
๓. จุดธูป ๑๙ ดอก [ กำลังส่งพระพฤหัสบดี ] ...
๔. ผลไม้ที่เป็นสีเหลือง ๕ อย่างที่มีรสหวาน เช่น ทุเรียน สัปรด กล้วย ข้าวโพด มะม่วง ...
. ดอกไม้ให้ใช้ ... พวงมาลัยดอกดาวเรือง ...

... หลังจากนั้นก็ดูตามทิศ และตามเวลาที่ได้ระบุไว้ ... 

... ลงมือ ... นะโม ๓ จบ 

... เริ่มสวดพระคาถาบูชาพระพฤหัสบดี ...

 

... นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ

 [ ๓ จบ ] ...

 

... สุวัณณะวัณโณ  สุวัณณะวัณณะ  วิภูสิโต  ครุมหาเทโว 

สุวัณณะภะระณะ  ภูสิโต  [  สวด ๑๙ จบ ] ...

 

... โอมครุเทวะ  ข้าแต่เทพผู้ทรงนามชัดว่า  พระพฤหัสบดี  พระพรรณฉวีปรีโดภาสเหลืองสะอาด  พัสตราภรณ์  มฤคบวร

เป็นอาสน์ทรง  ขอจำนงนบวันทนา  ครุเทวา  มฤคราช ...  

 

... พุทโธ อิติปิโส ภะคะวา อะอา มะอะอุ อิสสวาสุ พรหมวิหาระ อะสัง  สุสัง สุสุ นะโม พุทธายะ นะชาลีติ ยะมะหัง คุรุ อาจาริยัง สะระณังคะโต อิมินา สักกาเรนะ คุรุอาจาริยัง อะภิปูชะยามิ ทุติยัมปิ ยะมะหัง คุรุ อาจาริยัง สะระณังคะโต อิมินา สักกาเรนะ คุรุอาจาริยัง อะภิปูชะยามิ ตะติยัมปิ ยะมะหัง คุรุ อาจาริยัง สะระณังคะโต อิมินา สักกาเรนะ คุรุอาจาริยัง อะภิปูชะยามิ โอม คุรุเทวามหามุนี ปูเรนตัม โพธิสัมภาเร นิพพัตตัง โมระโยนิยัง เยนะ สังวิหิตา รักขัง มะหาสัตตัง วะเนจะรา จิรัสสัง วายะมัน ตาปิเนวะ สักขิงสุ คัณหิตุง พรหมมัน ตันติ อักขาตัง ปะริตตันตัม ภะณามะเห ฯ   อิติปิโส ภะคะวา ข้าจะไหว้พระพฤหัสสะเทวา ที่มาเวียนรอบจักรราศี ในดวงชาตาของข้าฯ ...

 [ เอ่ยชื่อ - นามสกุล ] ... ณ ตำแหน่งเรือนภพใด ต้องลัคน์ ต้องจันทร์  ต้องพระเคราะห์ใดที่ราศีจักร  ต้องพระเคราะห์ใดในนวางศจักร  ต้องพระเคราะห์ใดในตรียางค์จักร ต้องพระเคราะห์ตัวใดก็ดี หากแม้นเป็นพระเคราะห์ตัวร้าย ขอให้พลิกผันกลับมาเป็นดี หากเป็นพระเคราะห์ตัวดี ก็ขอจงเสริมส่งให้บังเกิดผลที่ดียิ่งๆ ขึ้นไป ...

 

... นะมะอะอุ อิติปิโสภะคะวา พระพฤหัสบดีคุรุเทวา วิญญาณะสัมปันโน เทวานัญจะ อิสีนัญจะคะรุง กัญจะนะสันนิภัง พุทธิภูตัง ติโลเกสัง ตังนะมามิ พะระหัปปะติง มหาลาโภ มหาลาภัง ภะวันตุเม นะมามิ ข้าฯ แต่พระพฤหัสบดีคุรุเทวา 

ผู้ทรงมีมหิทธานุภาพ ผู้เป็นครูแห่งมนุษย์เทวาทั้งปวง ข้าฯ ขอน้อมบูชาผู้เป็นคุรุเทวาด้วยเศียรเกล้า ขอท้าวเธอจงบันดาลให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีแต่ความจำเริญรุ่งเรืองด้วยโภคทรัพย์โชคลาภนานาสักการดั่งจิตที่ตั้งอธิษฐานนี้ไว้ฉะนี้เทอญ ...

 

... แถมพระคาถาบูชาพระพฤหัสบดี จากพระอรหันต์ ๘ ทิศ สั้นๆ ฉบับย่อ ฉบับพกพา มีดังนี้ ... 

... ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ  ... ๑๙ จบ ...

 

          ... พระคาถาบูชาพระพฤหัสบดีแต่โบราณ ...

 

ปุเรนตัมโพธิสัมภาเร     นิพพัตตัง โมระโยนิยัง
เยนะ สังวิหิตารักขัง     มะหาสัตตัง วะเนจะรา
จิรัสสัง วายะมันตาปิ     เนวะ สักขิงสุ คัณหิตุง
พรัหมะมันตันติ อักขาตัง     ปะริตตันตัมภะณามะ เหฯ

 ... ๑๙ จบ ...




... เลือกสวดบูชาได้ตามใจชอบกันนะครับ ... 

... อธิษฐานจิต ขอพรตามใจปรารถนา ...


... พอธูปดับสนิท ก็ดับเทียนได้เพื่อจะได้ใช้ในวันพฤหัสบดีต่อไปได้อีก ... ในวันพุฤหัสบดีต่อไป ... ไม่ต้องมีผลไม้ก็ได้ ส่วนเทียนนั้นก็ใช้ของเก่าที่เหลือได้ จุดใหม่แต่ธูปอย่างเดียว ...


... เป็นอันว่าจบพิธีการแต่เพียงเท่านี้นะครับ ... ทำกันเองได้นะครับ ...








 

 

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2563

พิธีกรรมบูชาพระราหูปี 2563

 


... พระราหู ...

 

... ตั้งแต่โบราณกาลนานมาแล้ว มีความเชื่อที่สืบทอดกันมาอีกว่า ดาวนพเคราะห์ต่างๆ นี้มีความผูกพันธ์กับมนุษย์โลกเป็นอย่างยิ่ง และนิทานโบราณก็จะมีคำกล่าวอ้างอิงกล่าวขานมาถึง ปัจจุบัน

เทพที่ประจำอยู่ที่ดาวนพเคราะห์ ” …

 

มีตำนานจากแหล่งที่มาต่างๆ ที่กล่าวขวัญถึงประวัติของ เทวดาดาวนพเคราะห์ อันมีดังต่อไปนี้คือ

 

๑. ดาวอาทิตย์

๒. ดาวจันทร์

๓. ดาวอังคาร

๔. ดาวพุธ

๕. ดาวพฤหัสบดี

๖. ดาวศุกร์

๗. ดาวเสาร์

๘. ราหู

๙. เกตุ

 

ในเมื่อมีการเชื่อถือในเรื่องของ  

เทวดาดาวนพเคราะห์ ” …

 จึงเกิดมีตำราที่เป็น พระคาถาบูชาเทวดาดาวนพเคราะห์ขึ้นมา ให้พวกเราได้สวดกราบไหว้บูชากัน

และนี่คือที่มาของเรื่องราวทั้งหมดที่ได้กล่าวมา



... พระราหู [ อสุรินทร์ ] ... เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง

ในคติไทย กำเนิดของพระราหูมีอยู่ด้วยกันสองตำนานด้วยกัน

คือ

๑.พระราหูถูกสร้างขึ้นมาโดยพระอิศวร หรือพระศิวะจากหัวกะโหลก ๑๒ หัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีทอง แล้วประพรมด้วยน้ำอัมฤตเสกได้เป็นพระราหู มีสีวรกายสีนิลออกไปทางทองแดง มีวิมานสีนิลอยู่ในอากาศ ประจำอยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

[ ทิศพายัพ ] และแสดงถึงเศษวรรค ที่ ๑

... [ ย ร ล ว ]

๒. พระราหูเป็นโอรสของท้าววิประจิตติและนางสิงหิกาหรือนางสิงหะรา เมื่อเกิดมามีกายเป็นยักษ์และมีหางเป็นนาค ...

พระราหูเป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางลุ่มหลงมัวเมา พระราหูเป็นมิตรกับพระเสาร์และเป็นศัตรูกับ พระพุธ อันมีเหตุตามนิทานชาติเวร

ในอดีตชาติ พระราหูได้เกิดมาเป็นน้องร่วมท้องเดียวกันกับเทวดานพเคราะห์อีก ๒ องค์ คือ พระอาทิตย์ และพระจันทร์โดยพระราหูเกิดเป็นน้องสุดท้อง ครั้งหนึ่ง พระราหูได้ร่วมทำบุญถวายพระที่มารับบิณฑบาตร่วมกับพี่ทั้ง ๒ คน พระอาทิตย์ตักบาตรในครั้งนั้นด้วยภาชนะทอง พระจันทร์ตักบาตรด้วยภาชนะเงิน ...

ส่วนพระราหูตักบาตรด้วยภาชนะที่ทำมาจากกะลามะพร้าว ...

เมื่อทั้ง ๓ พี่น้องได้มาเกิดเป็นเทวดานพเคราะห์ พระอาทิตย์จึงมีรัศมีและวรรณะเปล่งปลั่งดุจทองคำ พระจันทร์มีรัศมีและวรรณะเป็นสีขาวสว่างดุจเงิน และพระราหูมีรัศมีและวรรณะเป็นสีนิลออกไปทางทองแดง [ แต่ในบางตำราก็ว่ากายของพระราหูนั้นมีสีดำบ้าง สีทองบ้าง แตกต่างกันไป ]

 

 

           พระคาถาบูชาพระราหู

 

ปีนี้ [ พ.ศ.๒๕๖๓ ] พระราหู จะย้ายมาอยู่ราศีพฤษภในวันที่ ๙ ก.ย.๒๕๖๓ เวลา ๐๒.๕๑ น.เป็นเวลา ๑ ปีครึ่ง

ในทุกวันพุธ ตลอดปีครึ่งนี้ เราสามารถไหว้พระราหูได้ ในเวลา ๑๘.๐๐ น ถึง ๑๙.๓๐ น. [ ยาม ๔ ก็คือยามที่ ๑ ยามพระราหู

 [ พุธกลางคืน ] นั่นเอง ]

ทุกคนสามารถทำได้ด้วยตัวเองดังนี้

๑. หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง - อีสานใต้  [ ปีนี้ วันที่ ๙ ก.ย.พ.ศ. ๒๕๖๓ พระราหูจรสถิตราศีพฤษภ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง - อีสานใต้ ]

๒. เอาเทียนดำเล่มเล็กๆไปปักโดยรอบ ที่ถาด วงกลม ๑๒ เล่ม

๓. จุดธูป ๑๒ ดอก [ กำลังส่งพระราหู ]

๔. ของดำเช่น เหล้าเชี่ยงชุน กาแฟดำ เฉาก๊วย ขนมเปียกปูนฯ รวมทั้งหมด ๘ อย่าง [ ตัวพระราหู ]

หลังจากนั้นก็ดูตามทิศ และตามเวลาที่ได้ระบุไว้ ลงมือ อธิษฐานจิต ขอพรตามใจปรารถนา

พอธูปดับสนิท ก็ดับเทียนได้เพื่อจะได้ใช้ในกาลข้างหน้าได้อีก พวกของเซ่นต่างๆห้ามนำมากินเด็ดขาดเพราะเป็นของบัดพลีแล้ว ในวันพุธต่อไปไม่ต้องมีของดำก็ได้ ส่วนเทียนนั้นก็ใช้ของเก่าที่เหลือได้ จุดใหม่แต่ธูปอย่างเดียว

 

เป็นอันว่าจบพิธีการแต่เพียงเท่านี้นะครับ

ถ้ายังรู้สึกอยากสวดบูชาพระราหูต่อเนื่องก็ยังมีอีกบทนะ

ครับ

 

              บทสวดบูชาพระราหูโบราณ

 

กินนุ สันตะระมาโน วะราหุ สุริยัง ปะมุญจะสิ สังวิคคะรูโป อาคัมมะกินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติ

สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ พุทธะคาถาภิคีโตมหิ โน เจ มุญเจยยะ สุริยันติ

กินนุ สันตะระมาโน วะราหุ จันทัง ปะมุญจะสิ สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติ

สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ พุทธะคาถาภิคีโตมหิ โน เจ มุญเจยยะ จันทิมันติ

คำถวายเครื่องสังเวยพระราหู

นะโมเม พระราหูเทวานัง ธูปะทีปะ จะปุปผัง สักการะวันทะนัง สูปะพะยัญชะนะ สัมปันนัง โภชะนานัง

สาลีนัง สะปะริวารัง อุทะกังวะรัง อาคัจฉันตุ ปะริภุญชันตุ สัพพะทา หิตายะ สุขายะ พระราหูเทวา

มะหิทธิกา เตปิอัมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะ เยนะ สุเขมะจะฯ

 

คาถาบูชาพระราหูบทย่อ [ สวด ๑๒ จบ ]

คะ พุท ปัน ทู ธัม วะ คะ

คาถาสุริยะบัพภา การบูชากลางวัน

กุสเสโตมะมะ กุสเสโตโต ลาลามะมะ โตลาโม โทลาโมมะมะ โทลาโมมะมะ

โทลาโมตัง เหกุติมะมะ เหกุติฯ

คาถาจันทรบัพภา การบูชากลางคืน

ยัดถะตังมะมะ ตังถะยะ ตะวะตัง มะมะตัง วะติตัง เสกามะมะ กาเสกัง

กาติยังมะมะ ยะติกาฯ

 




... สวัสดีครับ ... ไว้พบกันใหม่ในปี 2565

... อ.ธนเทพ ปฏิพิมพาคม ...