... พระราหู ...
... ตั้งแต่โบราณกาลนานมาแล้ว
มีความเชื่อที่สืบทอดกันมาอีกว่า … ดาวนพเคราะห์ต่างๆ
นี้มีความผูกพันธ์กับมนุษย์โลกเป็นอย่างยิ่ง
และนิทานโบราณก็จะมีคำกล่าวอ้างอิงกล่าวขานมาถึง ปัจจุบัน …
” เทพที่ประจำอยู่ที่ดาวนพเคราะห์
” …
… มีตำนานจากแหล่งที่มาต่างๆ
ที่กล่าวขวัญถึงประวัติของ ” เทวดาดาวนพเคราะห์ “ อันมีดังต่อไปนี้คือ …
๑. ดาวอาทิตย์
๒. ดาวจันทร์
๓. ดาวอังคาร
๔. ดาวพุธ
๕. ดาวพฤหัสบดี
๖. ดาวศุกร์
๗. ดาวเสาร์
๘. ราหู
๙. เกตุ
… ในเมื่อมีการเชื่อถือในเรื่องของ
” เทวดาดาวนพเคราะห์ ” …
จึงเกิดมีตำราที่เป็น … พระคาถาบูชาเทวดาดาวนพเคราะห์ขึ้นมา
ให้พวกเราได้สวดกราบไหว้บูชากัน …
… และนี่คือที่มาของเรื่องราวทั้งหมดที่ได้กล่าวมา
…
... พระราหู [ อสุรินทร์ ] ... เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง
ในคติไทย กำเนิดของพระราหูมีอยู่ด้วยกันสองตำนานด้วยกัน
คือ …
๑.พระราหูถูกสร้างขึ้นมาโดยพระอิศวร
หรือพระศิวะจากหัวกะโหลก ๑๒ หัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีทอง
แล้วประพรมด้วยน้ำอัมฤตเสกได้เป็นพระราหู มีสีวรกายสีนิลออกไปทางทองแดง
มีวิมานสีนิลอยู่ในอากาศ ประจำอยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
[ ทิศพายัพ ] … และแสดงถึงเศษวรรค
ที่ ๑
... [ ย ร ล ว ] …
๒.
พระราหูเป็นโอรสของท้าววิประจิตติและนางสิงหิกาหรือนางสิงหะรา
เมื่อเกิดมามีกายเป็นยักษ์และมีหางเป็นนาค ...
พระราหูเป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์
ให้ผลในทางลุ่มหลงมัวเมา พระราหูเป็นมิตรกับพระเสาร์และเป็นศัตรูกับ พระพุธ
อันมีเหตุตามนิทานชาติเวร …
ในอดีตชาติ
พระราหูได้เกิดมาเป็นน้องร่วมท้องเดียวกันกับเทวดานพเคราะห์อีก ๒ องค์ คือ
พระอาทิตย์ และพระจันทร์โดยพระราหูเกิดเป็นน้องสุดท้อง ครั้งหนึ่ง
พระราหูได้ร่วมทำบุญถวายพระที่มารับบิณฑบาตร่วมกับพี่ทั้ง ๒ คน
พระอาทิตย์ตักบาตรในครั้งนั้นด้วยภาชนะทอง พระจันทร์ตักบาตรด้วยภาชนะเงิน ...
ส่วนพระราหูตักบาตรด้วยภาชนะที่ทำมาจากกะลามะพร้าว
...
เมื่อทั้ง ๓ พี่น้องได้มาเกิดเป็นเทวดานพเคราะห์
พระอาทิตย์จึงมีรัศมีและวรรณะเปล่งปลั่งดุจทองคำ
พระจันทร์มีรัศมีและวรรณะเป็นสีขาวสว่างดุจเงิน
และพระราหูมีรัศมีและวรรณะเป็นสีนิลออกไปทางทองแดง [ แต่ในบางตำราก็ว่ากายของพระราหูนั้นมีสีดำบ้าง สีทองบ้าง
แตกต่างกันไป ] …
… พระคาถาบูชาพระราหู
…
… ปีนี้ [ พ.ศ.๒๕๖๓ ] พระราหู จะย้ายมาอยู่ราศีพฤษภในวันที่ ๙ ก.ย.๒๕๖๓ เวลา ๐๒.๕๑
น.เป็นเวลา ๑ ปีครึ่ง …
ในทุกวันพุธ ตลอดปีครึ่งนี้
เราสามารถไหว้พระราหูได้ ในเวลา ๑๘.๐๐ น ถึง ๑๙.๓๐ น. [ ยาม ๔ ก็คือยามที่ ๑
ยามพระราหู
[ พุธกลางคืน ] นั่นเอง ] …
ทุกคนสามารถทำได้ด้วยตัวเองดังนี้ …
๑. หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง -
อีสานใต้ [ ปีนี้ วันที่ ๙ ก.ย.พ.ศ. ๒๕๖๓ พระราหูจรสถิตราศีพฤษภ – ทิศตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง - อีสานใต้ ] …
๒. เอาเทียนดำเล่มเล็กๆไปปักโดยรอบ ที่ถาด … วงกลม ๑๒ เล่ม …
๓. จุดธูป ๑๒ ดอก [ กำลังส่งพระราหู ] …
๔. ของดำเช่น เหล้าเชี่ยงชุน กาแฟดำ เฉาก๊วย
ขนมเปียกปูนฯ รวมทั้งหมด ๘ อย่าง [ ตัวพระราหู ] …
… หลังจากนั้นก็ดูตามทิศ
และตามเวลาที่ได้ระบุไว้ … ลงมือ … อธิษฐานจิต
ขอพรตามใจปรารถนา …
… พอธูปดับสนิท
ก็ดับเทียนได้เพื่อจะได้ใช้ในกาลข้างหน้าได้อีก
พวกของเซ่นต่างๆห้ามนำมากินเด็ดขาดเพราะเป็นของบัดพลีแล้ว … ในวันพุธต่อไปไม่ต้องมีของดำก็ได้
ส่วนเทียนนั้นก็ใช้ของเก่าที่เหลือได้ จุดใหม่แต่ธูปอย่างเดียว …
… เป็นอันว่าจบพิธีการแต่เพียงเท่านี้นะครับ
…
… ถ้ายังรู้สึกอยากสวดบูชาพระราหูต่อเนื่องก็ยังมีอีกบทนะ
ครับ …
บทสวดบูชาพระราหูโบราณ
กินนุ
สันตะระมาโน วะราหุ สุริยัง ปะมุญจะสิ สังวิคคะรูโป อาคัมมะกินนุ ภีโต วะ
ติฏฐะสีติ
สัตตะธา
เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ พุทธะคาถาภิคีโตมหิ โน เจ มุญเจยยะ สุริยันติ
กินนุ
สันตะระมาโน วะราหุ จันทัง ปะมุญจะสิ สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ
ติฏฐะสีติ
สัตตะธา
เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ พุทธะคาถาภิคีโตมหิ โน เจ มุญเจยยะ
จันทิมันติ
คำถวายเครื่องสังเวยพระราหู
นะโมเม
พระราหูเทวานัง ธูปะทีปะ จะปุปผัง สักการะวันทะนัง สูปะพะยัญชะนะ สัมปันนัง
โภชะนานัง
สาลีนัง
สะปะริวารัง อุทะกังวะรัง อาคัจฉันตุ ปะริภุญชันตุ สัพพะทา หิตายะ สุขายะ พระราหูเทวา
มะหิทธิกา
เตปิอัมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะ เยนะ สุเขมะจะฯ …
คาถาบูชาพระราหูบทย่อ
[ สวด ๑๒ จบ ]
คะ
พุท ปัน ทู ธัม วะ คะ
คาถาสุริยะบัพภา
การบูชากลางวัน
กุสเสโตมะมะ
กุสเสโตโต ลาลามะมะ โตลาโม โทลาโมมะมะ โทลาโมมะมะ
โทลาโมตัง
เหกุติมะมะ เหกุติฯ
คาถาจันทรบัพภา
การบูชากลางคืน
ยัดถะตังมะมะ
ตังถะยะ ตะวะตัง มะมะตัง วะติตัง เสกามะมะ กาเสกัง
กาติยังมะมะ
ยะติกาฯ
... สวัสดีครับ ... ไว้พบกันใหม่ในปี 2565
...
อ.ธนเทพ ปฏิพิมพาคม ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น